ย้อนรอยตำนาน หมัดธนูมือ หลวงปู่ภู เกจิกล้าแกร่งพลังเวทย์

พระเถราจารย์ยุคเก่าผู้มีตบะบารมีอันแก่กล้า ศิษย์ในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมัยที่หลวงปู่ภู ยังแข็งแรงดี ท่านจะถือธุดงค์วัตรมาโดยตลอด ถึงคราวออกพรรษา ท่านจะออกรุกขมูลมิได้ขาด ท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังเสมอว่าได้ร่วมเดินธุดงค์ไปกับท่านเจ้าประคุณออกพรรษาท่านจะออกรุกขมูลมได้ขาดท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังเสมอว่าได้ร่วมเดินธุดงค์ไปกับท่านเจ้าประคุณ                             สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นบางครั้งบางคราว

เดือนมีนาคมของทุกปีจะมีงานประจำปีที่โด่งดังของเมืองกรุง ซึ่งรู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งในหมู่คนไทยและต่างชาติต่างๆ ที่ได้มาร่วมงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุปิดทองหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ จัดงานที่วัดแห่งนี้ปีละ 10 วัน 10 คืน

หากมาที่วัด จะเห็น“ พระยืนอุ้มบาตร” องค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ทำให้นึกถึง “ พระศรีอริยเมตไตรย”  หรือ “ หลวงพ่อโต”  ซึ่งประดิษฐานเด่นเป็นสง่า อยู่ที่วัดอินทรวิหารซึ่งสมเด็จพระพุฒา จารย์  (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง โฆสิตาราม เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างขึ้น แต่ดำเนินการไปได้เพียงครึ่งองค์ ท่านก็สิ้นชีพิ ตักษัยเสียก่อน ผู้ที่มาสานต่อการก่อสร้างก็คือ “ พระครูธรรมานุกุล”  หรือ “ หลวงปู่ภูจันทสโร”  เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อองค์ที่เอ่ยนามท่าน หลวงปู่ภู ถือ เป็นศิษย์เอกผู้ใกล้ชิดสมเด็จพระพุฒาจารย์  (โต)  ที่ได้รับการถ่ายทอดเคล็ดวิชาต่างๆ มาบางที่ท่านออกธุดงค์ ก็มีพระภิกษุติดตามด้วย ท่านได้เล่าให้ฟังว่า มีเรื่องแปลกๆ ที่ได้ออกรุกขมูลไปตามป่าเขามากมายหลายเรื่อง สร้างความตื่นเต้นตามเส้นทางที่ได้เดินไป

 

หลวงปู่ภู  เกิดที่หมู่บ้านวังหิน  อ. เมือง จ. ตาก  ตรงกับปีขาล  พ. ศ. 2373 เมื่อท่านอายุ  21  ปี  ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดท่าคอย  มีพระอาจารย์อัน  เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ  วัดท่าแค  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระอาจารย์มา  วัดน้ำหัด  เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายานามว่า  “ จันทสโร”

พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง  “ หลวงปู่ภู  จันทเกสโร”   หลังจาก  บวชแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาที่สำนักวัดท่าแคระยะหนึ่ง  ก่อนออกธุดงค์จาก  จ. ตาก  มาพร้อมกับหลวงปู่ใหญ่ซึ่งเป็นพระพี่ชาย  สมัยที่ท่านธุดงค์มากรุงเทพฯ  ครั้งแรกได้มาปักกลดอยู่บริเวณที่ตั้งวังบางขุนพรหม   (ธนาคารแห่งประเทศไทย)   ขณะนั้นยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าและเปลี่ยวมีแต่ต้นรัง  ต้นตาล  ขึ้นระเกะระกะไปหมด  ท่านได้ปักกลดอยู่ชายแม่น้ำเจ้าพระยา  ยังไม่มีบ้านเมืองมากมายเหมือนสมัยปัจจุบัน  สภาพแวดล้อมแตกต่างกันราวกับฟ้าดิน  พอตกกลางคืนได้นิมิตไปว่า  มีคนนำเอาตราแผ่นดินมามอบถวายให้ท่าน 3 ดวง  เมื่อตื่นขึ้นมาได้พิจารณาถึงความฝันตามไปพอจะทราบว่า  ท่านเองจะมีอายุยืนยาวถึง  103   ปีเศษ

ศิษย์ใกล้ชิดได้เล่า  เมื่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ  ได้ช่วยรักษาคนป่วยเป็นอหิวาตกโรคไว้ 6 คน  สมัยนั้นถือว่าเป็นโรคร้ายแรง  และส่วนมากจะตายในที่สุดเนื่องจากการอนามัยยังเข้ามาไม่ถึง  และยังไม่มียารักษา  ก็รักษาไปตามอาการ  ในปี พ. ศ. 2416  เป็นปีที่อหิวาตกโรคระบาดหนักจนเป็นที่กล่าวขวัญเรียกกันจนติดปากว่า   “ ปีระกาห่าใหญ่”   จากเรื่องอหิวาห์ยังติดตามได้ในเรื่องป่าช้าวัดสระเกศที่เล่าขานกันต่อมา

 

ต่อมา  ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม  (วัดจักรวรรดิราชาวาส)  และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม)  ตามลำดับ  ท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดอินทรวิหาร  สมัยนั้นยังใช้ชื่อว่า  “ วัดบางขุนพรหมนอก”   ปีพ. ศ.  2432

และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  เมื่อปี พ. ศ. 2435   สมณศักดิ์ที่ได้รับไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับตำแหน่งในปีใด  เข้าใจว่าได้รับก่อนปี พ. ศ. 2463  เพราะตามหลักฐานศิลาจารึกเกี่ยวกับการสร้างพระศรีอริยเมตไตรย  มี  ความตอนหนึ่งว่า….. “ ถึง พ. ศ. 2463  ท่านพระครูธรรมานุกูล  (ภู)   ผู้ชราภาพ  อายุ  91  พรรษา 70   ได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร  ท่านจึงมอบฉันทะให้พระครูสังฆบริบาลปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ”

ท่านได้มรณภาพเมื่อวันเสาร์ที่  6  พ. ค.  2476 ตรงกับวันขึ้น  13 ค่ำ  เดือน  6   ปีระกา  เวลา   01. 15 น.  สิริอายุได้ 104  พรรษา  83  นับว่าท่านได้ยกเป็นพระครูกิตติมศักดิ์  ตั้งแต่ปี  พ. ศ. 2463  จนถึงวันมรณภาพ  ก่อนนั้นท่านมีนิมิตก่อนที่จะมาจำพรรษาที่วัดอินทร์แห่งนี้ว่า  ท่านจะมีอายุได้ 103 ปี  แต่ก็สามารถมีอายุยืนกว่าที่ท่านนิมิตในฝัน  ซึ่งอายุการมากและมีวิชาอาคมสมดังคำร่ำลือ

หลวงปู่ภู  เป็นพระเถระที่ยึดการธุดงค์เป็นกิจวัตรมาศีลโดยตลอด  สมัยที่ยังแข็งแรง  พอออกพรรษาท่านจะออกรุกขมูลมิได้ขาด  โดยร่วมธุดงค์ไปกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จขอพระพุฒาจารย์   (โตพรหมรังสี)   และหลวงปู่ใหญ่  และมักเล่าเรื่องแปลกๆ  ที่ได้เผชิญมาให้ลูกศิษย์ฟังอยู่เสมอ  อาทิการผจญจระเข้ยักษ์  เสือลายพาดกลอนเลียศีรษะ  ผจญงูยักษ์  ยังมีเรื่องเล่าที่แสดงถึงพลานุภาพแห่งการภาวนารักษาศีลอีก

ความมุมานะและอุตสาหะมุ่งมั่นศึกษาวิชาอาคมต่างๆของหลวงปู่ทำด้วยจิตอธิษฐาน  จนเกิดความชำนาญเป็นที่เลื่องลือตามยุคสมัยทั้งด้านสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน  ก็ได้ปฏิบัติมาโดยตลอด  เรียกกันว่า  “ นั่งจนก้นด้าน”   อีกทั้งยังสำเร็จวิชา  6  ประการ  คือ   1. เมฆ   2. กสิณ   3. สันโดษ   4. สมถกรรมฐาน   5. วิปัสสนาธุระ   6. เพ่งกสิณ  ปลุกเสกจนน้ำมนต์เดือด

การปฏิบัติวิชาแต่ละวิชาใช้เวลานานวิชาละ  10   ปีกว่าจะสำเร็จคงไม่ธรรมดาสำหรับเรื่องเช่นนี้ในพระที่ใช้วิชาบางองค์ที่สมัยนี้ชอบนำมาอ้างอิงหรือใช้วิชาดีๆ  เอามาหลอกลวงผู้คนให้ลุ่มหลงเพียงเพื่ออยากได้เงินทองของผู้มาหาให้เกิดการเลื่อมใสแบบขอไปที  ไม่เหมือนหลวงปู่สมัยเก่าแต่ละองค์อย่างแน่นอน  โดยเฉพาะหลวงปู่ภู  การเสกน้ำมนต์ให้เดือดใช้เวลาถึง  11 ปี  ซึ่งยากและไม่ธรรมดากว่าจะได้แต่ละวิชาที่สะสมพลังจิตอย่างแน่วแน่และมั่นคง  รวมเวลาในการศึกษาวิชาอาคมถึง  71  ปีเต็ม  ตราบช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่  จึงไม่เคยปล่อยเวลาให้ว่างเปล่าสูญเสียไปโดยง่าย  มุ่งหน้าปฏิบัติ  มีพุทธภูมิเป็นที่ตั้ง  การร่ำเรียนวิชาอาคมมากเพียงเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บอย่างจริงจัง

 

 

การที่ท่านมุ่งมั่นเรียนวิชาดูเมฆ  หรือเรียกกันว่า  “ วิชาเมฆฉาย”   โดยบริกรรมด้วยมนต์คาถาจนเงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ  แล้วพิจารณาดูว่าเป็นโรคอะไร?

“ หลวงปู่ภู  จันท  สโร”   ได้ศึกษาวิชากสิณ  หมายถึงอารมณ์ที่กำหนดธาตุทั้ง  4   มี  ปฐวี  อาโปเตโช  วาโย  อันมีวรรณะ   4   คือ  นีล  ปีต  โลหิต  โอทาต  อากาศแสงสว่างก็คือ  อาโลกากสิณ  การบำเพ็ญปฏิบัติของท่านจะเริ่มขึ้นหลังจากฉันจังหันแล้วคือ  เวลา   7   โมงเช้า  โดยตลอดชีวิตจะฉันเพียงมื้อเดียว   (ถือเอกา)   ผลไม้ที่ขาดไม่ได้  คือกล้วยน้ำว้า  ท่านบอกว่าเป็นโสมเมืองไทย

ทุกวันท่านจะต้องออกบิณฑบาต  ทั้งๆ  ที่ไม่จำเป็นเพราะเจ้าฟ้าสมเด็จกรมพระนครสวรรค์พินิจ  ได้จัดอาหารมาถวายทุกวัน  เมื่อฉันเช้าแล้ว  จะครองผ้าลงโบสถ์และลั่นดาลประตู  ไม่ให้ผู้ใดเข้าไปรบกวน  จากนั้นจะเจริญพระพุทธมนต์ถึง   14   ผูก  วันละ  7   เที่ยวแล้วจึงนังวิปัสสนากรรมฐานต่อ  จนถึงเที่ยงทุกๆวัน  ล่วงถึงตอนชราภาพ  ก็มิได้ขาดจากการลงทำวัตร  นอกจากอาการหนักจนลุกไม่ได้  ท่านยังเจริญวิปัสสนาโดยการนอนภาวนาซึ่งนับว่าหาได้ยาก

เรื่องราวเกี่ยวกับอภินิหารของท่านมีเล่าขานไว้มากมายหลายเรื่อง  อาทิ  สามารถหยั่งรู้อดีตและอนาคต  ใบ้หวยแม่น  ชุบชีวิตคนที่ตายแล้ว  ปราบผีเปรต  กำหนดวันมรณภาพได้  หายตัวเข้าโบสถ์อีกมากมายที่จะเล่าในภายหน้า

พระเครื่องและวัตถุมงคลที่หลวงปู่ภูได้สร้าง  มีหลายแบบด้วยกัน  เช่น  พระเนื้อผง  มีพิมพ์แซยิด  แขนหักศอก-แขนกลมใหญ่-พิมพ์แปดชั้น  พิมพ์เจ็ดชั้นหูติ่ง  พิมพ์ฐานแวมพิมพ์ห้าเหลี่ยมขัดสมาธิเพชร  พิมพ์สังกัจจายน์  พิมพ์ไสยาสน์  พิมพ์พระปิดตา  เป็นต้น  ประเภทเครื่องรางมีตะกรุด  ผ้ายันต์ยันต์ธงนกคุ้มกันไฟ  และไม้เท้าครู  ซึ่งหายากมาก  เพราะท่านสร้างน้อย  ส่วนมากแจกให้เฉพาะศิษย์ใกล้ชิด  รวมถึงเหรียญฉลองอายุ   100   ปี  หลังยันต์แถวเดียว  พ. ศ.   2473   หรือ  “ เหรียญแซยิด”   เป็นเหรียญรุ่นเดียวที่สร้างเป็นรูปเหมือนของท่าน  นอกจากนี้  ยังมีเหรียญเสมาใหญ่  พระศรีอริยเมตไตรย   (หลวงพ่อโต)

ท่านสร้างพระเครื่องตอนมาอยู่วัดอินทรวิหาร  โดยจัดสร้างหลังจากสมเด็จพระพุฒาจารย์   (โต)    วัดระฆังฯ   และถึงหลวงปู่ใหญ่   (พี่ของท่าน)   ได้มรณภาพแล้ว  เนื่องจากมีความสำนึกในจิตใจว่า  จะไม่ทำอะไรแข่งกับครูบาอาจารย์  บรรดาพระเครื่องและเครื่องรางที่ท่านสร้างขึ้นล้วนมีคุณวิเศษมากมาย    หลายท่านที่ได้แขวนองค์พระของหลวงปู่มีแต่เรื่องดีปลอดภัยและแคล้วคลาดทั้งสิ้นมาเล่าสู่กันปากต่อปาก

 

 

ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านเป็นที่เสาะแสวงหา  โดยเฉพาะ  “ พระพิมพ์สมเด็จ”   ของหลวงปู่ภู   ยุคแรกๆ  เนื้อหาจะดูจัดหนึกนุ่มคล้ายเนื้อพระสมเด็จของวัดระฆังโฆสิตารามและส่วนมากจะมีความหนาเป็นพิเศษ  ในปีต่อๆ  มาท่านก็ได้สร้างพระไปเรื่อยๆ  จวบจนท่านมรณภาพ  แต่วิชานักรบของไทยหลวงปู่ก็ไม่ด้อยน้อยหน้าใคร  เนื่องจากท่านมีพลังจิตที่แก่กล้าอาคมขณะนั่งวิปัสสนา

ส่วนวิชาหมัดธนูที่อยากบอกเล่าของหลวงปู่ภูนี้เรียกว่าเป็นวิชาของนักรบไทย  ตั้งแต่สมัยโบราณ  นับว่ามีอานุภาพมากไม่ด้อยกว่าวิชาอาคมและการป้องกันตัวอื่นๆ  แต่ที่น่าสนใจ  หลวงปู่ภู  วัดอินทร์ฯ  เกจิผู้มีวิชาแก่กล้า  ศิษย์สมเด็จโต  วัดระฆังองค์นี้  ครั้งตอนที่หลวงปู่ภูกับพระพี่ชายท่านหลวงปู่ใหญ่  มาบูรณะวัดอินทร์ฯนี้ด้วยกัน  ความที่ท่านชอบออกธุดงค์ประจำ  เมื่อสร้างวัดได้พอเจริญ  หลวงปู่ภูก็ปลีกวิเวกออกธุดงค์เช่นเคย  ปล่อยให้พระพี่ชายดูแลวัดแต่เพียงผู้เดียว

วัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง  มีพระมาจำพรรษามากมายหลวงปู่ภู  ก็ได้แวะมาเยี่ยมหลวงปู่ใหญ่  หลวงปู่ใหญ่จึงชักชวนหลวงปู่ภู  ให้มาพักที่วัด  จะได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดด้วยกัน  เมื่อหลวงปู่ภูรับคำ  หาคิดไม่ว่า  จะมีเรื่องกวนใจเข้ามา  จนท่านต้องใช้วิชาธนูมือเข้าปกป้องตน

มีพระเจ้าถิ่นอยู่องค์หนึ่ง  อายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงปู่ภู  ว่าหลวงปู่ภูตัวใหญ่แล้ว  แต่พระองค์นี้ใหญ่กว่าหลวงปู่ภู  องค์นี้ท่านก็หมายมั่นปั้นมือ  ว่าจะตนเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่ใหญ่   แต่เมื่อหลวงปู่ภูมาจำพรรษาที่นี่ทำให้รู้สึกเดือดร้อนใจมาก  เพราะอายุพรรษาหลวงปู่ภูมากกว่า  ซ้ำยังเป็นน้องชายแท้ๆ  ของหลวงปู่ใหญ่  จึงเคืองใจ

“ โอมตรีเพ็ชรเทพยดา  ให้กรรมสิทธิ์แก่ข้าสวาหะ  จะฉะสัพพัง  มรณังภะเว”

พระองค์ที่ไม่ชอบหลวงปู่ภูจ้องจะคอยหาเรื่องหลวงปู่ภูตลอดเวลา  พูดลอยๆ  ก็ออกไปทางแขวะหลวงปู่ภู  คอยจ้องหาเรื่อง  หลวงปู่ภูขณะนั้นเพิ่งมาอยู่วัด  ถึงแม้จะเป็นน้องหลวงปู่ใหญ่  แต่ก็เหมือนหัวเดียวกระเทียมลีบ  พระลูกวัดส่วนมากก็เป็นพวกพระองค์ดังกล่าว  หลวงปู่ภูจึงมีความรู้สึกรำคาญใจ  บางครั้งถึงกับจะแบกกลดหนีออกไป   แต่  ด้วยกำลังใจ  ที่เป็นคนเด็ดเดี่ยว  ไม่เคยย่อท้อต่อสิ่งใด  จึงอดทนอยู่กับพระพี่ไปก่อนถูกหาเรื่องอย่างไรก็อดทนไป

จนวันที่ความอดทนของท่านต้องขาดลง  เมื่อขณะเสร็จจากทำวัตรเช้าในพระอุโบสถ  พระองค์นี้ได้มายืนต่อว่าท้าทายท่าน  เพราะถือว่าตัวใหญ่กว่าท่าน  ไม่มีความเกรงใจและเกรงกลัวหลวงปู่ภู  หลวงปู่ภูสุดจะอดกลั้น  จึงเดินไปเผชิญหน้ากับพระองค์ที่หาเรื่อง  จึงเกิดการต่อสู้ต่อยกันหมัดต่อหมัด

เมื่อถึงระยะประชิดตัว  หลวงปู่ภูยกหมัดขึ้นมาแค่เอวง้างต่อยไปที่ท้องพระองค์นั้นเบาๆ  พระองค์ที่หาเรื่องหลวงปู่ถึงกับทรุดลงไปชักดิ้นชักงอ  น้ำหูน้ำตาไหลออกมาพรั่งพรูของที่ฉันเข้าไปอ้วกกระอักออกมาจนสิ้น  ร้อนจนถึงหลวงปู่ใหญ่ต้องมาขอร้องหลวงปู่ภู  ให้แก้ไข  หลวงปู่ภูจึงยอมถอนพระเวทย์  ออกแต่พระองค์ที่หาเรื่องหลวงปู่ต้องให้พระลูกหาบ  หามไปยังกุฏิ  หลังจากนั้นพระที่หาเรื่ององค์นั้นจึงเข็ดไม่กล้ายุ่งกับหลวงปู่ภูอีกต่อไป

วิชาอาคมและศาสตร์ที่ดี  ย่อมอยู่ในตัวตนคนถือศีลยึดในสัตย์มั่นวาจากระทำแต่สิ่งดี  เมื่อไปไหนที่ใด  จะไม่เดือดร้อน  ถึงเดือดร้อนก็ผ่อนเป็นเบา  เพราะกระทำแต่ความดี  จึงมีสิ่งดีๆ  คุ้มครองตลอดไปอย่างเรื่องของสิ่งดีๆ  ที่นำมาเสนอจากเกจิอาจารย์ท่านได้สอน  ไว้คอยติดตามเรื่องราวดีๆ   มีสาระได้ในคราวต่อไป

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *